วิธีดูแลสนามหญ้า

Last updated: 29 ส.ค. 2567  |  65 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีดูแลสนามหญ้า

1.เปิดทางให้ความชื้นและแสงแดด


ดังที่กล่าวไปข้างต้น ว่าหน้าหนาวมีอากาศที่ค่อนข้างแห้ง และเป็นช่วงที่ต้นไม้จะผลัดใบและมีลมแรงจนทำให้ใบร่วงเป็นจำนวนมากซึ่งใบไม้ที่ร่วงนี้อาจเกิดการทับถมกันบนสนามหญ้า จนทำให้หญ้าไม่สามารถรับแดดได้เพียงพอ ดังนั้น เราจึงควรหมั่นเก็บกวาดใบไม้อยู่เสมอ รวมไปถึงสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ที่ปกคลุมอยู่บนหญ้าให้โล่งที่สุด

2.ใส่ใจเรื่องพื้นที่


เรื่องพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่ควรต้องคำนึงเป็นอันดับต้น ๆ เช่นกัน เนื่องจากหญ้าบางพันธุ์จำเป็นต้องปลูกในที่ที่แดดส่องถึงอย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าหากนำไปปลูกในบริเวณที่มีเงาตึกบดบัง หญ้าก็จะโตไม่เต็มที่ หรือหญ้าบางพันธุ์ก็ไม่แข็งแรงพอที่จะถูกเหยียบย่ำ ดังนั้นหากนำไปปลูกบริเวณทางเท้า หรือทางเดินรถ หญ้าก็อาจจะตายได้ และในเมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ควรเลือกสถานที่ทำสนามหญ้าให้เหมาะสมกับพันธุ์ของต้นหญ้าด้วย

3.ใส่ใจดูแลดิน


อินทรีย์ในดินก็เปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ ที่ต้องการน้ำ อาหาร อากาศหายใจ การย่อยอาหาร และการขับถ่าย เพื่อให้มีชีวิตรอดและเติบโตมาได้อย่างดี ซึ่งถ้าดินดีก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลไปถึงต้นไม้ใบหญ้าที่เราปลูก ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย ดังนั้นเราจึงต้องคอยดูแลดินให้ดี อย่าให้ขาดสารอาหารที่สำคัญเด็ดขาด อาจจะดูแลด้วยการนำปุ๋ยออร์แกนิก หรือปุ๋ยคอกไปใส่ในดินก็ได้ เพราะปุ๋ยคอกเปรียบเป็นอาหารเสริมให้อินทรีย์ในดินสมบูรณ์ และเมื่อดินสมบูรณ์ ก็จะช่วยให้ต้นหญ้าได้รับสารอาหารและแร่ธาตุอย่างเต็มที่

4.ตรวจสอบกรดด่าง ก่อนจะบํารุงดิน


เพื่อให้การปลูกต้นหญ้าเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบและสวยงาม ควรจะนำดินไปตรวจสอบธาตุอาหารและแร่ธาตุก่อน จะได้รู้ว่าดินของเรายังขาดแร่ธาตุหรือสารอาหารที่จำเป็นตัวไหนอยู่ เพราะหากเราไม่ตรวจสอบดินก่อน แล้วซื้อปุ๋ยมาบำรุงดินตามความเข้าใจของตัวเอง ก็อาจจะทำให้ดินมีค่าแร่ธาตุที่ขาด ๆ เกิน ๆ จนเป็นพิษต่อต้นหญ้าและพืชนิดต่าง ๆ ได้

5.บํารุงสนามหญ้าด้วยปุ๋ยชีวภาพ


นอกจากปุ๋ยคอกแล้ว ยังมีปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยที่หมักจากเศษอาหาร และซากพืชแห้ง ๆ ผสมกับกากน้ำตาล ที่สามารถบำรุงต้นหญ้าให้เติบโตอย่างสวยงาม เขียวขจีได้ด้วย ซึ่งถ้าคุณไม่มีเวลาทำเองที่บ้าน ก็อาจจะหาซื้อปุ๋ยชีวภาพ หรือที่เรียกกันว่า อีเอ็ม มาใช้บำรุงสนามหญ้าก็ได้

6.คอยสังเกต วัชพืช


วัชพืชที่ขึ้นแซมมาในสนามหญ้าของเราจริง ๆ แล้วคือสัญญาณเตือนว่าดินกำลังมีปัญหาบางอย่าง และแม้ว่าเราจะกำจัดวัชพืชเหล่านี้ด้วยสารพัดวิธีไปแล้วก็ตาม แต่อีกไม่นานเจ้าวัชพืชทั้งหลายก็จะกลับมาก่อกวนสนามหญ้าของเราอีกครั้ง วิธีสังเกตก็คือ ถ้าวัชพืชขึ้นเยอะผิดปกติ ก็อาจจะเป็นเพราะว่าดินด้านล่างได้กลายเป็นดินเหนียวที่มีความหนาแน่นนั่นเอง

7. ฉีดยาฆ่าแมลงให้ถูก


มีแมลงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่เป็นตัวการทำร้ายต้นหญ้า และต้นไม้ของเรา แต่คนส่วนใหญ่มักจะพ่นยาฆ่าแมลงเพื่อกำจัดแมลงทุกชนิด เพราะเข้าใจว่าแมลงเหล่านั้นจะทำร้ายให้พืชตาย หรือติดโรคพืช ซึ่งจริง ๆ แล้วแมลงบางชนิดก็เป็นมิตรกับต้นหญ้า ดังนั้นคงดีกว่าหากเราจะรู้วิธีฉีดยาฆ่าแมลงที่ถูกวิธีดังนี้
- เลี่ยงใช้ยาฆ่าแมลงที่มีไนโตรเจนสูง เพราะไนโตรเจนเปรียบเสมือนอาหารอันโอชะของแมลงทุกชนิด และจะทำให้แมลงยิ่งเติบโตและแพร่พันธุ์มากขึ้น
- เลือกใช้ยาฆ่าแมลงชนิดดี ที่มีส่วนประกอบของธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เพราะปลอดภัยต่อต้นพืช คน และสัตว์
- ฉีดไส้เดือนฝอย กำจัดปลวก ด้วง และหนอน
-
8.คอยตัดหญ้าบ่อยๆ


หากอยากให้สนามหญ้าดูเขียวขจีน่ามอง ก็ต้องขยันตัดเล็มหญ้าบ่อย ๆ จะตัดด้วยเครื่องตัดหญ้าชนิดไหนก็ได้ แต่ควรตัดหญ้าไม่ให้สั้นจนเกินไป เพราะอาจจะกระทบกระเทือนไปถึงรากหญ้า และเป็นเหตุให้ต้นหญ้าตาย และที่เราต้องหมั่นตัดเล็มหญ้าบ่อย ๆ ก็เพราะว่า ทุกครั้งที่ตัดเล็มหญ้า ต้นหญ้าจะผลิยอดอ่อนออกมา ทำให้ต้นสนามหญ้าดูเขียวสดน่ามอง ซึ่งหากเป็นไปได้ก็ควรตัดเล็มหญ้าทุกสัปดาห์ แต่ในช่วงหน้าฝนที่หญ้ามักจะโตเร็ว ก็ต้องตัดหญ้าให้บ่อยขึ้น

9. รดน้ำให้พอเพียง


ต้นหญ้าเป็นพืชที่ชอบน้ำมาก เราจึงต้องรดน้ำต้นหญ้าให้พอเพียงเพื่อให้หญ้าเจริญเติบโตอย่างเต็มที่สมบูรณ์ โดยอาจจะรดน้ำให้ชุ่มทุกเช้า จากนั้นก็เว้นมาเป็นช่วงเย็น แต่ถ้าจะให้ดีอาจจะลงทุนติดตั้งสปริงเกอร์พ่นน้ำชนิดที่ตั้งเวลาได้ เอาไว้เปิดรดน้ำสนามหญ้าระหว่างที่คุณไม่อยู่บ้าน และนาน ๆ ครั้งก็เปิดน้ำรดต้นหญ้าให้ชุ่มๆ

10. ปลูกหญ้าถมรอยแหว่ง


หน้าดินอาจมีการทรุด หรือโดนน้ำเซาะจนเป็นแอ่งได้ แต่ผลกระทบจากกลไกธรรมชาติแบบนี้ก็ทำให้สนามหญ้าของเรามีรอยแหว่ง ไม่เรียบเสมอกัน ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้สักพัก และดูแลสนามหญ้าอย่างดีเป็นปกติ ต้นหญ้าก็จะงอกลามมายังพื้นที่ว่างจนเติมเต็มรอยแหว่งได้ในที่สุด แต่ถ้าใจร้อนก็อาจจะเลือกใช้วิธีโรยเมล็ดหญ้าลงในพื้นที่แหว่ง จานกั้นก็คลุมทับบาง ๆ ด้วยปุ๋ยชีวภาพ และรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมาหญ้าก็จะงอกแซมขึ้นมาเติมเต็มรอยแหว่งให้สมบูรณ์แล้ว~~~

11. ฟื้นฟูสภาพดิน


ทั้งสารเคมีจากปุ๋ยเคมี น้ำที่กัดเซาะ และอีกสารพัดวิธีดูแลสนามหญ้าที่ทำกันมายาวนาน อาจจะทำให้ดินมีปัญหา หรือต้องการการฟื้นฟูบ้าง ซึ่งวิธีฟื้นฟูก็ทำได้หลายทาง แต่ที่สะดวกที่สุดแนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยออร์แกนิกลงไปบำรุงดิน และเลี้ยงไส้เดือนไว้ใต้ดิน เพราะปุ๋ยจากธรรมชาติเหล่านี้จะมีจุลินทรีย์ ที่จะช่วยพรวนดินให้มีช่องว่างพอที่อากาศ และออกซิเจนจะผ่านเข้าไป รวมถึงไส้เดือนเองก็จะช่วยเปิดทางให้ดินสามารถรับสารอาหารต่าง ๆ ที่เราใส่เพิ่มเติมลงไปได้อย่างสะดวกขึ้น

12.ตัดหญ้าอย่างมืออาชีพ


การจะตัดหญ้าให้เต็มประสิทธิภาพและคุ้มค่า ควรจะปล่อยให้หญ้าที่ตัดเล็มไป กองตัวรวมกันอยู่บนสนาม เพื่อให้กลายเป็นปุ๋ยชนิดหนึ่ง และที่สำคัญควรตระเตรียมเครื่องตัดหญ้าให้พร้อมดังนี้
- เช็ดปริมาณน้ำมัน และความคมของใบมีดตัดหญ้า ถ้าใบมีดไม่คม ให้ลับหรือเปลี่ยนมีดใบใหม่
- พยายามอย่าตัดหญ้าเกิน 1 ใน 3 ของความยาวต้นหญ้าทั้งหมด และไม่ควรตัดหญ้าสั้นจนติดพื้นดินเกินไป
- ช่วงหน้าฝนให้หมั่นตัดหญ้าให้บ่อยขึ้น


13. พยายามใช้ปุ๋ยออร์แกนิก


อย่างที่บอกว่าปุ๋ยออร์แกนิก หรือปุ๋ยชีวภาพจะมีจุลินทรีย์อยู่ในนั้นค่อนข้างเยอะ ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของดิน ทำให้ดินแข็งแรง อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญต่อพืช และจุลินทรีย์ยังช่วยเปิดโอกาสให้ดินสามารถรับธาตุอาหารที่เราใส่ลงไปได้อย่างสะดวกขึ้น นอกจากนี้ปุ๋ยออร์แกนิกยังช่วยเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีไม่ให้เกิดผลกระทบกับแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติใต้ดิน ทะเล คน สัตว์ และชั้นบรรยากาศด้วย

14.เลือกปูหญ้าแผ่นดีกว่าหว่านเมล็ด


ารปลูกหญ้ามีวิธีให้เลือก 2 แบบ คือ ซื้อหญ้าแผ่นสำเร็จรูปมาปูให้เต็มสนาม หรือจะหว่านเมล็ดพันธุ์หญ้า แล้วรอให้ต้นหญ้าเติบโตขึ้นมา แต่หากคุณกำลังลังเลไม่รู้จะเลือกวิธีไหน แนะนำให้เลือกปูหญ้าสำเร็จรูปจะดีกว่า เพราะประหยัดในเรื่องค่าใช้จ่าย และเวลาในการสร้างสนามหญ้าให้เขียวขจี เนื่องจากหากเลือกปลูกหญ้าด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ คุณจะต้องวุ่นวายกับขั้นตอนการเพาะบ่มมากมายกว่าต้นหญ้าจะเจริญเติบโตได้ขนาดที่ต้องการ อีกทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายกับการเปิดน้ำเลี้ยงเมล็ดพันธุ์ให้ชุ่ม รวมทั้งยังมีค่าปุ๋ยที่ต้องนำมาเป็นอาหารเสริมให้ต้นหญ้าอีก

15.เลือกใช้ยาฆ่าแมลงสูตรออร์แกนิก


ขึ้นชื่อว่ายาฆ่าแมลง ยังไงก็ต้องมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม คน และสัตว์เลี้ยงอยู่แล้ว แต่คงจะดีกว่าหากเราจะเลือกใช้ยาฆ่าแมลงที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติมากกว่าสารเคมี เพราะผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล ก็ชี้ให้เห็นว่า เด็กที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืชอยู่เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงเป็นโรคลูคิเมีย โรคมะเร็งสมอง และโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน มากกว่าเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบธรรมชาติถึง 4 เท่า


อ้างอิง:https://home.kapook.com/view95895.html

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้