ต้นไม้ฟอกอากาศที่ควรมี

Last updated: 29 ส.ค. 2567  |  37 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ต้นไม้ฟอกอากาศที่ควรมี

ก่อนอื่นเรามาทําความรู้จัก และเข้าใจก่อนว่าต้นไม้ฟอกอากาศคืออะไร


ต้นไม้ฟอกอากาศ คือ ไม้ดอก หรือไม้ประดับ ที่กำลังได้รับกระแสนิยมปลูกในบ้าน และรอบๆ ที่อยู่อาศัยเพื่อพึ่งพากระบวนการตรึงสารพิษในอากาศของต้นไม้ สร้างอากาศที่บริสุทธิ์ขึ้น กระแสการปลูกต้นไม้ฟอกอากาศกำลังฮิตในบ้านทั้งในบ้านเราและระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนาซา (National Aeronautics and Space Administration : NASA) ได้ศึกษาค้นพบว่าพืชบางชนิดกรองมลพิษได้ เหล่านี้ได้แก่
เบนซิน (Benzene) ที่พบได้จากหมึกพิมพ์ ผงซักฟอก สารชะล้างต่างๆ
ไตรคลอโรเอทิลีน (Trichloroethylene) พบในหมึกพิมพ์และสารเคลือบเงา
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่พบได้จากกระดาษ
แอมโมเนีย (Toluene) ที่พบได้จากน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป
โทลูอีน (Toluene) ที่พบได้จากน้ำยาขจัดคราบสี คราบน้ำมัน ทินเนอร์
คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide) ที่พบได้จากเครื่องจักรที่ใช้น้ำมัน
สไตรีน (Styrene) ที่พบในฉนวนสายไฟ แผ่นรองพรม และถ้วยน้ำดื่ม
กระบวนการตรึงสารพิษของต้นไม้เหล่านี้ เป็นวัฏจักรของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ต้นไม้ทุกต้นไม่ได้ดูดซับสารเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด และในช่วงเวลา 1 วัน ก็จะมีกระบวนการดูดและคายก๊าซแตกต่างกัน


แล้วต้นไม้ฟอกอากาศ ภูมิแพ้ปลูกได้ไหม

คนเป็นภูมิแพ้ไม่ควรวางต้นไม้ในห้องนอนตลอดเวลา เพราะเครื่องปลูกจะประกอบด้วย ดิน น้ำ ที่มักเป็นศูนย์รวมความชื้น และจุลินทรีย์ ขณะที่เราอยู่ในห้องเมื่อเปิดมีลมพัดในห้องผ่านหน้าต่าง หรือเครื่องปรับอากาศก็จะทำให้เครื่องปลูกฟุ้งกระจาย เกิดเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้

วิธีการวางต้นไม้ฟอกอากาศในห้องนอน

ต้นไม้แต่ละพันธุ์ชอบแสงแดดและอากาศแตกต่างกัน ส่วนขั้นตอนการฟอกอากาศนั้น บางต้นดูดซึมผ่านใบ ระบบรากหลัก และรากอากาศ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องเข้าใจธรรมชาติของพันธุ์ไม้ หากต้องการวางต้นไม้ไว้ในห้องนอน ควรเลือกขนาดกระถางที่เหมาะสมกับการยก เพื่อขนย้ายออกไปรับแดดได้บ้าง

ต้นไม้ที่นาซารับรอง ว่าสามารถฟอกอากาศได้

1.เดหลี
เดหลี (Peace Lily, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Spathiphyllum Species) ต้นไม้ในร่มที่ช่วยดูดซับและกำจัดสารเบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน แอมโมเนีย ไซลีน โทลูอีน และสารมลพิษอื่น ๆ ในอากาศได้ มีอายุหลายปี สีขาวสวย มีกลิ่นหอม ความสูงประมาณ 40-70 เซนติเมตร ปลูกใส่กระถางสานเก๋ ๆ ไว้ในห้องได้

วิธีปลูกต้นเดหลี
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง หรือ 2 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 16-32 องศาเซลเซียส

2. เบญจมาศ
เบญจมาศ (Chrysanthemum, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dendranthemum grandifflora) ไม้ดอกสีสันสดใสที่คนชอบปลูกในบ้าน มีส่วนช่วยในการกรองสารพิษอย่าง แอมโมเนียและเบนซีน ซึ่งเป็นสารพิษที่พบมากในพลาสติก ผงซักฟอก และกาว ปลูกง่าย เลี้ยงง่าย มีหลายสายพันธุ์ มีขนาดเล็ก สูงประมาณ 75-80 เซนติเมตร ปลูกจนโตเต็มที่แล้วก็ตัดมาเสียบแจกันประดับตกแต่งบ้านหรือห้องพักได้อีกด้วย

วิธีปลูกเบญจมาศ
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : กลางแจ้ง ริมระเบียง หรือปลูกในห้องนั่งเล่น, ห้องครัว
แสง : ชอบแดดจัด
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-45 องศาเซลเซียส

3. ตีนตุ๊กแกฝรั่ง
ตีนตุ๊กแกฝรั่ง (English Ivy, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hedera helix) ช่วยดูดซับและกำจัดสารเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน ไซลีน และโทลูอีน ออกจากอากาศได้ เป็นไม้เถาเลื้อย ใบเป็นแฉกคล้ายใบตำลึง มีหลากสี หลายพันธุ์ ปรับตัวได้ดี ดูแลไม่ยาก ได้รับความนิยมในการนำไปปลูกเพื่อแต่งบ้านในแถบยุโรป จับมาใส่กระถางวางบนชั้นให้ใบค่อย ๆ ห้อยลงมาก็สวยไปอีกแบบ

วิธีปลูกต้นตีนตุ๊กแกฝรั่ง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม เช่น ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-30 องศาเซลเซียส

4. ลิ้นมังกร
ลิ้นมังกร (Snake plant หรือ Mother-in-law’s tongue, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Sansevieria laurentii) พืชในร่มที่แข็งแรงและสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ต้องดูแลเยอะ มีอายุอยู่ได้หลายปี สามารถกำจัดสารพิษที่ระเหยอยู่ในอากาศได้อย่างดี และยังช่วยผลิตออกซิเจนที่บริสุทธิ์ในเวลากลางคืนด้วย ใบเป็นรูปหอก แข็ง หนา ตั้งตรง มีลวดลาย สีเขียวเข้มอมเทา พร้อมแถบสีเขียวอ่อนพาด หลายคนจึงนิยมนำมาประดับตกแต่งห้อง

วิธีปลูกลิ้นมังกร
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม เช่น ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ห้องน้ำ
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 5-45 องศาเซลเซียส

5. เยอบีรา
เยอบีรา (Gerbera Daisy, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Gerbera Jamesonii) ช่วยดูดซึมสารพิษในอากาศและผลิตออกซิเจนในระดับสูงตอนกลางคืน เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือผู้ที่มีอาการหายใจผิดปกติ เป็นไม้ดอกที่นิยมนำมาประดับตกแต่งสวน แต่ดอกที่บานไม่ทนนาน ร่วงเร็ว จึงดูแลรักษาค่อนข้างยาก

วิธีปลูกเยอบีรา
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงแดดรำไร
การรดน้ำ: 2-3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-25 องศาเซลเซียส

6. พลูด่าง
พลูด่าง (Money Plant หรือ Devil's ivy, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Epipremnum aureum) สามารถกำจัดสารเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไซลีน และโทลูอีน ที่อยู่ในอากาศได้ ปลูกง่าย ตายยาก เหมาะปลูกในอาคารหรือที่อยู่อาศัย มีข้อควรระวังเล็กน้อย คือ ใบเป็นพิษต่อเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง หากมีสัตว์เลี้ยงต้องปลูกให้สูงขึ้นสักนิดนะคะ

วิธีปลูกพลูด่าง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ที่ไหนก็ได้ แต่ให้ห่างจากเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง
แสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-45 องศาเซลเซียส

7. แก้วกาญจนา
แก้วกาญจนา อโกลนีมา หรือเขียวหมื่นปี (Aglaonema หรือ Chinese Evergreen, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Aglaonema commutatum) ช่วยกำจัดเบนซีนและฟอร์มาลดีไฮด์ รวมถึงสร้างออกซิเจนในปริมาณมากด้วย มีพันธุ์ที่เป็นที่นิยมมากกว่า 100 สายพันธุ์ สีสันฉูดฉาดสวยงาม แต่งบ้านได้หลายมุม แต่ผลัดใบง่าย ต้องดูแลเป็นพิเศษ

วิธีปลูกแก้วกาญจนา
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส

8. เศรษฐีเรือนใน
ศรษฐีเรือนใน (Spider plant หรือ Airplane Plant, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chlorophytum comosum) สามารถกำจัดสาร VOC หรือสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่มักพบในสารประกอบหรือสารทำละลายในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงคาร์บอนมอนอกไซด์และไซลีนด้วย เป็นพุ่มใบเรียวสีเขียว-เหลือง โค้งงอแผ่ขยายลงด้านล่าง ปลูกในกระถางเล็ก ๆ ก็น่ารักน่าเอ็นดู

วิธีปลูกเศรษฐีเรือนใน
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส

9. ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Aloe barbadensis mill) พืชที่มีสรรพคุณครอบจักรวาล นำมาใช้รักษาโรคตั้งแต่สมัยโบราณ ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ และมีประสิทธิภาพในการกำจัดเบนซีนและฟอร์มาลดีไฮด์ เนื้อข้างในยังสามารถนำไปทำอาหาร ขนม และเครื่องดื่มได้หลายเมนูด้วย

วิธีปลูกว่านหางจระเข้
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ริมระเบียงที่รับแสง
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงแดดรำไร
การรดน้ำ : 2 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อหน้าดินเริ่มแห้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-45 องศาเซลเซียส

10. จั๋ง
จั๋ง (Broad Lady Palm หรือ Bamboo palm, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Chamaedorea seifrizii) ช่วยดูดซับและกำจัดเบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน ไซลีน และโทลูอีน ในอากาศ ช่วยลดระดับแอมโมเนียที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหลายประเภทได้ด้วย ลักษณะต้นเป็นกอ สูงประมาณ 2-4 เมตร ใบเป็นแฉกคล้ายพัด สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลูกในภาชนะสาน หรือไม้ จะช่วยแต่งห้องให้ดูมินิมอลมากขึ้น

วิธีปลูกจั๋ง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ทางเข้าบ้าน
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 2-3 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-35 องศาเซลเซียส

11. ยางอินเดีย
ยางอินเดีย (Rubber Plant หรือ India Rubber Fig, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Ficus elastica) ด้วยใบที่มีขนาดใหญ่ จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซับและกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ สารเคมี รวมถึงช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนให้เป็นออกซิเจนที่บริสุทธิ์ และยังสามารถกำจัดแบคทีเรียและสปอร์ของเชื้อราในอากาศได้อีกด้วย เป็นไม้ยืนต้น ใบกลมหนา สีต่างกันไปตามสายพันธุ์ เช่น เขียว เหลือง และแดง เรามักจะเห็นบ่อยตามคาเฟ่ หากใครอยากแต่งห้องครัวสไตล์คาเฟ่เก๋ ๆ ต้องซื้อมาลอง

วิธีปลูกยางอินเดีย
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม, ในสวนที่มีพื้นที่ เพราะต้นยางอินเดียสามารถสูงได้ถึง 1-2 เมตร จึงควรเลือกปลูกในบริเวณที่มีพื้นที่
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3 วันต่อครั้ง หรือรดเมื่อดินแห้งสนิท
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 12-30 องศาเซลเซียส

12. หน้าวัว
หน้าวัว (Anthurium, Flamingo Flower หรือ Pigg-tail flower, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Anthurium andraeanum) เป็นไม้ดอกไม้ประดับสำหรับแต่งบ้านที่ช่วยดูดซับและกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน และโทลูอีน ในอากาศได้ ใบสวยงามแต่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นรูปหัวใจ ดอกออกเหนือก้านใบ ออกได้ตลอดทั้งปี ปลูกติดบ้านไว้มองเห็นตอนไหนก็ชื่นใจแน่นอน

วิธีการปลูกหน้าวัว
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส

13. ฟิโลเดนดรอน ใบหัวใจ
ฟิโลเดนดรอน ใบหัวใจ (Philodendron Heartleaf หรือ Sweetheart plant, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Philodendron cordatum) มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟอร์มาลดีไฮด์โดยเฉพาะ ลักษณะเป็นไม้เลื้อย ใบรูปหัวใจสีเขียวสดใส ใบใหญ่สวยงาม เข้ากันดีกับการแต่งบ้านสไตล์ลอฟท์ ปูนเปลือย ทำให้บ้านดูเท่และสดชื่นขึ้น

วิธีปลูกฟิโลเดนดรอน
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : 3-4 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส

14. เฟิร์นบอสตัน
เฟิร์นบอสตัน (Boston Fern หรือ Fishbone Fern, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Nephrolepis exaltata) ช่วยกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ ไซลีน โทลูอีน และเชื้อโรคในอากาศ เชื้อรา แบคทีเรีย จากอากาศภายในอาคาร ลักษณะต้นเป็นพุ่มสวยงาม ใบทึบแน่น โค้ง และแข็ง ลักษณะคล้ายใบมะขาม นำมาแต่งห้องสีขาวก็จะช่วยเพิ่มสีเขียวให้ห้องดูสดชื่นขึ้นเยอะ

วิธีปลูกเฟิร์นบอสตันในบ้าน
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : ในร่ม ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น
สภาพแสง : ใต้ร่มเงา, แสงประดิษฐ์
การรดน้ำ : วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-35 องศาเซลเซียส

15. ไทรย้อยใบแหลม
ไทรย้อยใบแหลม (Weeping Fig, ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Ficus benjamina) สามารถกำจัดเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไซลีน และโทลูอีน ได้ เป็นไม้ยืนต้น ใบหนาเป็นมัน ปรับตัวได้ดีกับทุกสภาพอากาศ จึงได้รับความนิยมนำมาปลูกเป็นอย่างมาก

วิธีปลูกไทรย้อยใบแหลม
ตำแหน่งที่ควรปลูก : ห้องนั่งเล่น, ริมระเบียงที่รับแสง
พื้นที่และตำแหน่งที่ควรปลูก : กลางแจ้ง ห้องนั่งเล่น, ริมระเบียงที่รับแสง
สภาพแสง : แดดจ้า, แสงแดดรำไร
การรดน้ำ : 3-4 วันต่อครั้ง
อุณหภูมิที่เติบโตดี : 15-30 องศาเซลเซียส

เพราะการอยู่บ้านที่มีอากาศบริสุทธิ์เป็นเรื่องที่สำคัญ เราจึงอยากให้ทุกคนหันมาสนใจเรื่องต้นไม้ฟอกอากาศกัน ยิ่งมีการรับรองจากนาซาด้วยแล้วว่า ต้นไม้เหล่านี้สามารถกำจัดสารพิษและคืนอากาศบริสุทธิ์ให้แก่คุณได้จริง จะรอช้าอยู่ไย ไปปลูกต้นไม้เหล่านี้ในบ้านของคุณกันเถอะค่ะ

ซึ่งจากรายงานเรื่อง Interior Landscape Plants for Indoor Air Pollution Abatement เป็นการศึกษาค้นคว้าขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซา (NASA) ร่วมกับ Associated Landscape Contractors of America (ALCA) ได้ค้นพบว่า ไม้ประดับธรรมดาที่ปลูกในบ้านหรือที่เราใช้ตกแต่งห้อง ต่าง ๆ ของเรานี่แหละ มีประสิทธิภาพในการดูดซับและกำจัดสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ เช่น สารฟอร์มาลดีไฮด์ ไตรคลอโรเอทิลีน เบนซิน และสารมลพิษอื่น ๆ เรามาดูตัวอย่างบางส่วนของต้นไม้ฟอกอากาศที่ดีที่สุดที่ได้รับการยอมรับจากนาซาว่าสามารถฟอกอากาศบริสุทธิ์ได้จริง และเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างทั่วโลก และยังช่วยให้ห้องเราสวยงามขึ้นอีกเป็นกองเลยล่ะ

                                     ต้นไม้ฟอกอากาศ
1. เขียวหมื่นปี (Chinese Evergreen)
ต้นเขียวหมื่นปี มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Chinese Evergreen และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aglaonema crispum ลำต้นเป็นก้านชูตรง และใบมีลักษณะแผ่กว้าง มีสีสันด่างสวยงามในเฉด สีชมพู สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีเทา สารพิษที่ต้นเขียวหมื่นปีดูดซับได้ อาทิ เบนซิน, ฟอร์มัลดีไฮด์, คาร์บอนมอนนอกไซด์, ไตรคลอโรเอทีลีน



2. ปาล์มใบไผ่ (Bamboo Palm)

ต้นปาล์มใบไผ่ เป็นที่นิยมในรีสอร์ต หรือโรงแรม ใช้ตกแต่งห้องอาบน้ำ ให้บรรยากาศตะวันออก ปาล์มใบไผ่เป็นต้นไม้ที่สามารถเติบโตสูงใหญ่ได้ เมื่อเลี้ยงในบ้านได้ขนาดโตพอ ก็นำไปปลูกประดับสวนได้ สารพิษที่ปาล์มใบไผ่ดูดซับ ได้แก่ แอมโมเนีย, ฟอร์มัลดีไฮด์, ไซรีน และโทลูอีน

3. ปาล์มหมาก Areca Palm

ต้นปาล์มหมากมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrysalidocarpus lutescens. มีต้นกำเนิดจากเขตร้อน ไม่ได้เป็นเพียงไม้ฟอกอากาศเท่านั้น ยังเป็นต้นไม้ที่ปล่อยความชื้น ทำหน้าที่เป็นเครื่องเพิ่มความชื้นได้ตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับตั้งในห้องที่มีแสงแดดส่องทั่วถึง สารพิษที่ปาล์มหมากดูดซับ ได้แก่ ฟอร์มัลดีไฮด์, โทลูอีน, ไซลีน เป็นต้น

4. เฟิร์นบอสตัน (Boston Fern)

เฟิร์นบอสตัน เป็นพืชที่เติบโตได้ดีในกลางแจ้ง แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ้านก็โตได้รูปทรงสวยงาม ขนาดกะทัดรัด ยกกระถางย้ายจัดมุมได้หลายรูปแบบ สารพิษที่เฟิร์นบอสตันดูดซับได้ ได้แก่ เบนซีน, ไซรีน, ฟอร์มัลดีไฮด์, โทลูอีน เป็นต้น

5. เฟิร์นดาบออสเตรเลีย (Kimberly Queen Fern)

เฟิร์นดาบออสเตรเลีย เป็นญาติกับไม้เฟิร์นบอสตัน ใบมีขนาดเรียวเล็กกว่าเล็กน้อย เติบโตได้ดีในแสงแดดรำไร และเลี้ยงในกระถางเล็กๆ ตั้งหน้าโต๊ะทำงานได้ ดูดซับสารฟอร์มัลดีไฮด์ และไซรีน ได้ดี

6. กล้วยไม้หวาย (Dendrobium Orchid)
ต้นกล้วยไม้หวาย มีรากอากาศช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีในช่วงเวลากลางคืน จึงนิยมปลูกไว้รอบๆ บ้านที่มีระแนง ระเบียง สร้างอากาศที่ดีรอบๆ บ้าน

7. ฟิโลใบหัวใจ (Philodendron Heartleaf)

ฟิโลใบหัวใจ มีลักษณะคล้ายพลูด่าง ใบเป็นรูปหัวใจเต็มทรง เลี้ยงง่าย โตง่ายในที่ร่วม สารพิษที่ต้นฟิโลใบหัวใจดูดซับได้ดี คือ ฟอร์มัลดีไฮด์

8. ฟิโลหูช้าง (Philodendron domesticum)

ต้นฟิโลหูช้าง หรือ Elephant Ear Philodendron เป็นญาติกับฟิโลใบหัวใจ แต่มีลักษณะใบเรียวยาวกว่า บางต้นที่มีลักษณะด่างขายได้ราคาสูง

9. เข็มริมแดง Dragon Tree

ต้นเข็มริมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dracaena marginata เป็นญาติกับต้นวาสนา แต่ใบเรียวยาวนั้นมีสีแดง ปลูกง่ายในกลางแจ้ง และหากนำมาประดับบ้าน ควรวางในห้องที่มีแสงแดดจัดๆ แสงสว่างส่องเพียงพอ

10.วาสนาราชินี (Janet Craig)

ต้นวาสนาเป็นไม้มงคล และเป็นต้นไม้ฟอกอากาศที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ลำต้นชูตั้งตรง และเลี้ยงได้ตั้งในกระถางเล็กตั้งโต๊ะ ไปจนถึงกระถางใหญ่ประดับบ้าน ไม่ต้องดูแลรักษามาก สารพิษที่ต้นวาสนาราชินีดูดซับได้ คือ เบนซิน และไตรคลอโรเอทิลีน

11.กุหลาบหิน (Kalanchoe)


ต้นกุหลาบหิน ก็เป็นต้นไม้ฟอกอากาศ ราคาไม่แพง ที่นิยมทุกยุคสมัย กุหลาบหินเป็นไม้อวบน้ำที่มีลำต้นเล็กๆ เหมาะสำหรับเลี้ยงในกระถางวางบนโต๊ะอาหาร โต๊ะทำงาน ไม่ต้องรดน้ำมาก ปลูกง่ายในทุกสภาพอากาศ และออกดอกให้เห็นสวยๆ ด้วย

12.โกสน (Croton)

โกสน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Codiaeum variegatum pictum. เหมาะสำหรับปลูกไว้รอบๆ อาคาร เพราะชอบแสงแดดจัด นอกจากนี้โกสนยังจัดเป็นไม้มงคล ที่มีความหมายเสริมบารมี คุ้มครองให้ผู้อยู่อาศัยอยู่เย็นเป็นสุข

13.ต้นคริสต์มาส (Poinsettia)


ต้นคริสต์มาส หรือ พอยน์เซตเทีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia pulcherrima ไม่น่าเชื่อว่าก็จัดเป็นไม้ฟอกอากาศที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศเช่นกัน ต้นคริสต์มาสนี้เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวใบด้านยอดเปลี่ยนเป็นสีแดง สีขาว และสีชมพูได้ตามสายพันธุ์ มักนิยมนำมาจัดกระถางเพื่อเตรียมตกแต่งบ้านเรือนในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงคริสต์มาส

14. เงินไหลมา (Syngonium)


ต้นเงินไหลมา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syngonium podophyllum. นอกจากเป็นไม้มงคลแล้วยังจัดเป็นไม้ฟอกอากาศคายความชื้นสูงอีกด้วย เลี้ยงง่ายในบ้าน คอนโด เมื่อเลี้ยงเต็มกระถางแล้วก็แยกหน่อปลูกขยายได้อีกหลายต้น

15.ปาล์มสิบสองปันนา (Dwarf Date Palm)

ต้นปาล์มสิบสองปันนา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phoenix roebelenii. ต้นปาล์มสิบสองปันนาเป็นต้นปาล์มทรงเล็ก ที่กำลังได้รับความนิยมในบ้านจัดสรร โฮมออฟฟิศ เพราะเลี้ยงง่าย ใบแผ่กิ่งก้านสวยงาม ควรตั้งอยู่ในพื้นที่รับแสงแดดจัดๆ

16.หนุมานประสานกาย (Schefflera)

หนุมานประสานกาย มีชื่อสามัญว่า Umbrella Plant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Schefflera arboricola. เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน บางครั้งเรียกว่า “อ้อยช้าง” หรือ “หนวดปลาหมึกแคระ” เป็นต้นไม้ฟอกอากาศที่มีใบเขียวสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกรอบๆ บ้าน ช่วยฟอกอากาศและเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับอากาศรอบบ้าน

17.สาวน้อยประแป้ง (Dumb Cane)

สาวน้อยประแป้ง เป็นไม้สกุล Dieffenbachia ชอบอากาศร้อนชื้น เติบโตได้ดีในแสงแดดทั้งภายในและภายนอกอาคาร นำมาจัดกระถางใหญ่ ตั้งอยู่ถามโถงรับรองได้สวยงาม แต่ใบมีอันตราย ไม่ควรปลูกในบ้านที่มีเด็กเล็ก และสัตว์เลี้ยงที่อาจสัมผัสยางทางการรับประทาน และถูกผิวหนัง

18.มอนสเตอร่า (Monstera Deliciosa)


ต้นมอนสเตอร่า เป็นต้นไม้ฟอกอากาศที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ ขณะนี้ โดยมีราคาตั้งแต่ 50 บาท ไปจนถึงหลักล้านบาท ขึ้นอยู่กับความหายากของลวดลายตามสายพันธุ์ มอนสเตอร่าถือเป็นต้นไม้ฟอกอากาศราคาแพงที่สุด และมีการพัฒนาขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้เพียงพอกับตลาด

อย่างไรก็ดี ต้นไม้ฟอกอากาศไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ ดังนั้นการปลูกต้นไม้จึงเป็นเพียงทางเลือกด้านความสวยงามได้เท่านั้น หากผู้อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศวิกฤติ และต้องการกำจัดฝุ่นที่มีขนาดเล็กระดับ PM 2.5 ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศที่ได้รับมาตรฐาน และติดตั้งเครื่องวัดฝุ่น เพื่อตรวจเช็กสภาพอากาศได้อย่างเหมาะสม

อ้างอิง:https://home.kapook.com/view238577.html

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2126946

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้